รีวิว ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ) ปี 2563 (The traditional of worshiping Buddha's footprint)

0
ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)
งานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ประจำปี พ.ศ.2563 นี้ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มกราคม จนถึง 24 มีนาคม ที่ เขาคิชฌกูฏ (Khao Khitchakut) ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญของชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ และผมกับภรรยาเราก็ยังไม่เคยไปกันมาก่อน อีกทั้งปีนี้ก็เป็นปีชงของภรรยาด้วย เราเลยตั้งใจจะไปนมัสการกราบไหว้ รอยพระพุทธบาท (Trace of Buddha's footprint) และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อความเป็นสิริมงคลสักครั้งหนึ่งในชีวิตและครอบครัว

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

เราเดินทางไปถึง วัดพลวง (Wat Phluang) จังหวัด จันทบุรี เวลาประมาณ 17:00น. โดยคาดว่าถ้าหากขึ้น เขาพระบาทพลวง หรือ เขาคิชฌกูฏ ในตอนช่วงเวลาเย็นอากาศก็น่าจะไม่ร้อนสักเท่าไหร่ แต่ที่ไหนได้กลับมีฝนตกลงมาตั้งแต่ตอนเที่ยง ทำให้ช่วงนั้นยังมีฝนตกปรอยๆมีอากาศเย็นกว่าที่คิดและถนนก็เปียกด้วย แต่อุปสรรคเพียงแค่นี้ไม่สามารถหยุดเหล่าผู้แสวงบุญรวมถึงผมกับภรรยาได้

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

เราจอดรถยนต์ส่วนตัวในบริเวณที่จอดของวัดฟรีไม่เสียเงิน แล้วเดินไปซื้อตั๋วโดยสารรถกระบะขับเคลื่อน 4 ล้อขึ้นเขาในราคาคนละ 100 บาท และเดินไปขึ้นรถที่ คิวรถคณะสงฆ์บริการวัดพลวง ซึ่งมีรถจอดรอเหล่าผู้แสวงบุญอยู่แล้ว วันที่เราไปคนน้อยมากไม่ต้องต่อคิว พอขึ้นรถเสร็จรถก็ออกทันที นั่งไปไม่กี่นาทีก็ถึงด่านทางเข้า อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ โดยต้องเสียค่าเข้าอุทยานฯคนละ 20 บาท ระหว่างทางขึ้นเขาถนนมีความลาดชันพอสมควรและยังเปียกเป็นดินเลนตลอดทาง ในใจก็กล้าๆกลัวๆว่ารถจะขึ้นได้ไหมจะลื่นไถลหรือเปล่า ระหว่างทางก็มีรถกระบะขึ้นลงจากเขา สวนกันไปมา สลับช่องทางซ้ายทีขวาที เหมือนกับนัดแนะกันมาก่อนเป็นอย่างดี ก็ต้องขอชื่นชมฝีมือการขับรถของโชเฟอร์ที่ไม่ทำให้เราลื่นตกเขาไปซะก่อน และยังโชคดีที่ไม่ได้นั่งกินฝุ่นไปตลอดทาง

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)


ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

นั่งรถเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาขึ้นๆลงๆอยู่ไม่นานประมาณ 20 นาทีระยะทางก็ราวๆ 7-8 กิโลเมตรเราก็มาถึง ลานพระสิวลี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางรถยนต์ ส่วนสภาพรถกระบะก็เลอะโคลนอย่างที่เห็น เส้นทางต่อจากนี้ไปก็ต้องเดินเท้าขึ้นเขากันต่อจนถึง รอยพระพุทธบาท ประมาณ 1 กิโลเมตร แต่ก่อนจะไปเราก็ทำการสักการะบูชากราบไหว้ขอพร พระสิวลี ผูกผ้าสามสี พระแม่ธรณีบีบมวยผม กันก่อน เส้นทางเดินขึ้นและลงเขามีทั้งช่วงที่เป็นปูน เป็นไม้ เป็นดิน มีราวจับสลับกันไปเดินได้ไม่ยากครับ

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

จาก ลานพระสิวลี เราก็เริ่มออกเดินเจอกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯบอกให้เราเดินขึ้นตามเส้นทางเดินซ้ายมือ เดินขึ้นไปอีกไม่เกิน 200 เมตรเราก็จะถึง พระนอนหิน ทำการกราบไหว้และให้พระรดน้ำมนต์ก่อนแล้วก็ไปต่อ ถัดไปเราเดินไกลอีกนิดก็จะมาถึง เนินพระเมตตา แวะกราบไหว้กล่าวคำบูชา หลวงพ่อพระพุทธเมตตา หลังจากนั้นให้ตั้งจิตอธิฐานสงบนิ่งทั้ง กาย วาจา ใจ เป็นเวลา 1 นาทีทุกอย่างจะโล่งสว่างและบริสุทธิ์ อีกทั้งยังเป็นการหยุดพักเดินให้หายเมื่อยล้าก่อนเดินทางไปต่อ

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ถัดจาก เนินพระเมตตา ก็ต่อด้วยการตีหรือเคาะระฆังที่แขวนเรียงยาวอยู่ริมทางเดิน ถ้าหาไม้เคาะไม่ได้ก็ให้ใช้เหรียญบาทเคาะให้เกิดเสียงดังแทนก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมพกเหรียญติดตัวไปด้วยนะครับ เราเดินขึ้นมาเรื่อยๆอากาศก็เย็นลงๆเหมือนกัน และเริ่มมีหมอกลงแต่ยังไม่มาก ระหว่างทางแวะกราบไหว้ พระศิวะ พระนาคปรก แล้วเดินต่อมาอีกนิดเราก็ถึงจุดขึ้น ประตูสวรรค์ ซึ่งจะมี พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ อยู่ใต้เพิงก้อนหินใหญ่และ พระพรหม อยู่ก่อนทางเข้า ประตูสวรรค์ ให้เราได้กราบไหว้บูชา หลังจากนั้นให้เคาะระฆังแล้วเดินขึ้นบันไดผ่านช่องแคบเพื่อขึ้นสวรรค์ไปกราบไหว้รอยพระพุทธบาท

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

และแล้วเราก็ขึ้นมาถึงลานหินกว้างบนยอดเขาจุดที่มี หินลูกบาตร ขนาดใหญ่คอยให้ร่มเงา รอยพระพุทธบาท ที่ประดิษฐานอยู่ข้างๆ เราเขาทำการสักการะบูชา กราบไหว้ และขอพร โดยมีผู้นำสวด คำบูชารอยพระพุทธบาท และบอกลำดับขั้นตอนการ นมัสการรอยพระพุทธบาท ให้กับเหล่าผู้แสวงบุญได้กล่าวบูชาและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเป็นรอบๆไป รอยพระพุทธบาทจะประดิษฐานอยู่บนพื้นหินในกรอบสี่เหลี่ยมสีทอง โดยกรอบใหญ่จะเป็นของจริงและกรอบเล็กจะเป็นของจำลอง หลังจากเสร็จสิ้นแล้วขณะนั้นหมอกลงจัดมาก แต่เรายังมีเป้าหมายถัดไปที่ ผ้าแดง จึงออกเดินทางต่อ

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

เนื่องจากปัจจุบันนี้ทาง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ได้เข้ามาดูแลกิจกรรมรวมถึงความปลอดภัยตามจุดต่างๆในเขตอุทยานฯ โดยเฉพาะเส้นทางจาก รอยพระพุทธบาท ไปยัง ผ้าแดง ไม่สามารถเปิดให้เดินไปจนสุดเส้นทางเดิมที่มีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรได้ แต่เปิดให้ผูกผ้าแดงสุดเส้นทางที่ประมาณ 600 เมตรเท่านั้น ระหว่างทางผ่าน เจ้าแม่กวนอิม จนมาถึง ลานอินทร์ ทำการสักการะ กราบไหว้ สวดคาถา บูชาพิเศษ พระองค์อินทร์ และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ให้ตั้งใจขอพรเพียง 1 อย่างเท่านั้น

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

จากนั้นก็เดินทางต่อผ่าน บาตรพระอานนท์ และก็มาถึง ผ้าแดง ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนบุญ จะมีจุดบริการแจกผ้าสีแดงยาวๆให้เรารับมาแล้วเขียน ชื่อ ที่อยู่ และคำขอพรที่ขอที่ ลานอินทร์ ลงบนผ้าแดง เขียนเสร็จให้เดินกลับไปที่ บาตรพระอานนท์ อีกครั้งแล้วเดินเวียนลอดบาตรโดยตั้งจิตอธิษฐานตามที่ขอพร 3 รอบแล้วเดินกลับไปที่ ผ้าแดง นำผ้าแดงไปผูกไว้กับต้นไม้ก็เป็นอันเสร็จพิธี ก่อนกลับถ่ายรูปคู่กับป้าย "ผู้พิชิต สุดเขตแดนบุญ ขุนเขาคิชฌกูฏ (ผ้าแดง)"

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ระหว่างทางเดินกลับลงเขาแวะกราบไหว้บูชา พ่อปู่ฤาษี ที่ ถ้ำปู่ฤาษี เพื่อความเป็นสิริมงคลและกล่าวลาให้ท่านช่วยดูแลปกป้องคุ้มครองเราได้เดินทางกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย จากนั้นเราก็กลับลงไปยัง ลานพระสิวลี ที่เป็นจุดที่เราลงรถกระบะตอนขาขึ้นมาเพื่อขึ้นรถกลับลงเขา ทำการซื้อตั๋ว บัตรรถคณะสงฆ์บริการ ในราคาคนละ 100 บาทแล้วก็ขึ้นรถที่จอดรอเหล่าผู้แสวงบุญอยู่แล้ว

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง(เขาคิชฌกูฏ)

เราใช้เวลาในการแสวงบุญครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ ซื้อตั๋วโดยสารขึ้นรถที่วัดพลวง กราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาท ขอพรผูกผ้าแดง และกลับลงมาถึงวัดพลวง ทั้งหมดนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง หากท่านใดที่ยังไม่เคยไปมาก่อนก็ต้องขอบอกว่า ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนไปเดินขึ้น/ลงเขา และข้างบน เขาคิชฌกูฏ นั้นไม่มีอาหารจำหน่าย แต่ที่บริเวณ วัดพลวง มีร้านขายอาหารและของกินอยู่หลายร้านครับ ใครที่ยังไม่ได้ไปก็ยังพอมีเวลาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม ส่วนผมกับภรรยาสำหรับปี 2563 ที่ เขาคิชฌกูฏ นี้ก็ต้องขอลาไปก่อนสวัสดีครับ ..^_^..

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)