รีวิว สถานที่ท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

0
รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง หรือ ปราสาทพนมรุ้ง (Prasat Phanom Rung) ซึ่งเป็นหนึ่งในปราสาทหินที่มี สถาปัตยกรรมแบบขอม (Khmer Architecture) ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากในประเทศไทย สร้างจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอด ภูเขาพนมรุ้ง (Khao Phanom Rung) ที่มีความสูงประมาณ 200 เมตรจากระดับพื้นราบหรือประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งภูเขาลูกนี้เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทเมื่อประมาณ 9 แสนปีมาแล้ว

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นตามความเชื่อใน ศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นิกายปศุปตะ (Pasupata sect of Sivaite Hinduism) ที่นับถือ พระศิวะ (The God Siva) เป็นเทพสูงสุด การที่ได้ก่อสร้างศาสนสถาน ปราสาทพนมรุ้ง บนยอดเขา จึงเปรียบเสมือนการสร้างวิมานที่ประทับของ พระศิวะ ที่เชื่อกันว่าตั้งอยู่บนยอด เขาไกรลาส (Mount Kailasa) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีการก่อสร้างถึง 4 สมัยคือ สมัยแรกสร้างราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 หรือพ.ศ.1532, สมัยที่สองสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16, สมัยที่สามสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และสมัยสุดท้ายสร้างราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

การเข้าชม ปราสาทหินพนมรุ้ง จะมีประตูทางเข้าอยู่ 3 ประตูโดยที่
  • ประตูที่ 1 เป็นประตูที่เข้าทางด้านหน้าของ ปราสาทพนมรุ้ง ทิศตะวันออก และมีลานจอดรถฟรีที่ด้านหน้าก่อนเข้าประตู แต่จะต้องเดินจากที่จอดรถไปประตูทางเข้าประมาณ 170 เมตร และเดินจากประตูทางเข้าไปจนถึงตัวปราสาทอีกประมาณ 380 เมตร
  • ประตูที่ 2 วันที่ผมไปเห็นประตูปิดอยู่ ไม่มีป้ายบอกค่าธรรมเนียมการเข้าชม และไม่มีลานจอดรถที่ด้านหน้าก่อนเข้าประตู
  • ประตูที่ 3 เป็นประตูที่เข้าทางด้านหลังของ ปราสาทพนมรุ้ง ทิศตะวันตก เปิดให้เข้าได้แต่ไม่มีลานจอดรถที่ด้านหน้าก่อนเข้าประตู จึงต้องนำรถเข้าไปจอดด้านในที่อยู่ใกล้กับตัวปราสาทแล้วเดินอีกเพียงไม่น่าจะเกิน 100 เมตร ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมยานพาหนะที่นำเข้ามาด้วย
รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

เริ่มต้นจากทางเข้าประตูที่ 1 ทางทิศตะวันออก เราจะต้องเดินขึ้น บันไดต้นทาง (The Beginning Stairway) ที่ก่อสร้างด้วย ศิลาแลง (Laterite) เป็นชั้นๆจำนวน 3 ชั้น ซึ่งจะมีช่วงหนึ่งที่แต่เดิมบันไดหินขาดช่วงไป ปัจจุบันได้สร้างบันไดทางเดินไม้แทน พอขึ้นมาถึงสุดบันไดก็สามารถมองเห็นตัวปราสาทประธานจากระยะไกลได้ พื้นด้านบนนี้ปูด้วยศิลาแลงเป็นรูป กากบาท (cruciform) สันนิฐานว่าน่าจะเป็น ส่วนฐาน (Platform) ของ พลับพลา (Pavilion) รูปกากบาท ซึ่งเป็น โคปุระ (Gopura) ชั้นนอกหรือซุ้มประตูทางเข้า ปราสาทพนมรุ้ง

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

จากนั้นก็ลงบันไดไปที่ ทางดำเนิน (Paved Walkway) ก่อสร้างด้วย ศิลาแลง มีความกว้าง 9.2 เมตร ความยาว 160 เมตร เป็นทางเดินสำหรับกษัตริย์หรือเจ้านาย ที่เสด็จมาสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน สองข้างทางมี เสานางเรียง (Sao Nang Riang) หรือ เสานางจรัล (Sao Nang Charan) ส่วนบนของเสามีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม (Lotus-Bud Tip) จำนวนเสาข้างละ 35 ต้น

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

สุด ทางดำเนิน จะต้องเดินข้าม สะพานนาคราช ช่วงที่ 1 (The First Level Naga Bridge) ซึ่งก่อสร้างด้วย หินทราย (Sandstone) มีแผนผังเป็นรูป กากบาท และยกพื้นสูง มีบันไดทางขึ้นเป็น อัฒจันทร์รูปปีกกา (crescentic stairs) ราวสะพานทำเป็นลำตัว นาคห้าเศียร แผ่พังพานออกไปทั้งสี่ทิศ บริเวณจุดกึ่งกลางบนพื้นลานสะพานสลักลวดลายรูป ดอกบัวแปดกลีบ (Eight Petals Lotus) อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปดหรืออาจเป็นจุดตั้งจิตอธิษฐานขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อ สะพานนาคราช เปรียบเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ด้านหลังของ สะพานนาคราช เป็นชานกว้างเชื่อมต่อกับ บันไดขึ้นปราสาท (The Upper Stairway) มีขั้นบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา โดยทำ ชานพัก (Terrace) ระหว่างทางเป็นชั้นๆจำนวน 5 ชั้น พอขึ้นมาสุดบันไดเป็น ลานโล่งกว้างหน้าปราสาท (The Front Yard) ซึ่งเป็น ทางเดินไปสู่ ปราสาทประธาน (The Walkway Leading to the Principal Tower)

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ก่อนเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาทเราต้องผ่าน สะพานนาคราช ช่วงที่ 2 (The Second Level Naga Bridge) สร้างเป็นลานยกระดับมีแผนผังเป็นรูป กากบาท เชื่อมระหว่าง ชาลา (Terrace) กับ โคปุระ (ซุ้มประตู) และระเบียงคดด้านทิศตะวันออก กลางลานสลักลายรูป ดอกบัวแปดกลีบ ราวสะพานทำเป็นตัว พญานาคห้าเศียร แผ่พังพานออกไปทั้งสี่ทิศ

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

หน้าบัน (Pediment) บนซุ้มประตูทิศตะวันออกมีภาพสลักชื่อว่า โยคะทักษิณามูรติ (Yogadaksinamurti) หมายถึง พระศิวะ ในภาคมหาโยคีผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ เดินผ่านซุ้มประตูและระเบียงคดเข้าไปด้านในจะเจอกับ สะพานนาคราช ช่วงที่ 3 (The Third Level Naga Bridge) รับช่วงอยู่ด้านหน้าก่อนถึงปราสาทประธาน ก่อสร้างด้วย หินทราย มีแผนผังเป็นรูป กากบาท ยกพื้นสูง

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ปราสาทประธาน (The Principal Tower) ตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของลานปราสาทชั้นใน ก่อด้วย หินทรายสีชมพู มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป ที่บริเวณ หน้าบัน (Pediment) และ ทับหลัง (Lintel) มีภาพสลักแสดงเรื่องราวตามความเชื่อของ ศาสนาฮินดู เช่น ภาพสลักทับหลัง นารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือ วิษณุอนันตศายินปัทมนาภิณ (Vishnu Anantasayin), ภาพสลักทับหลัง ศึกอินทรชิต (Indrajit Battle), ภาพสลักหน้าบัน พระรามยกทัพ (Rama's Army) เป็นต้น

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ปราสาทพนมรุ้ง ภายในยังมีสถาปัตยกรรมและโบราณสถานอื่นๆอีกมากมายที่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ชม ยกตัวอย่างเช่น ปราสาทอิฐ 2 หลัง (The Two Brick Sanctuaries), ปรางค์น้อย (Prang Noi), ภาพสลักหน้าบันและทับหลังอื่นๆอีก เป็นต้น ซึ่งควรมาชมมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมที่มีความงดงามด้วยสายตาตัวเองจะดีที่สุดครับ

รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอด เขาพนมรุ้ง ตำบล ตาเป๊ก อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศ ไทย 31110 การเดินทางจาก กรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 แล้วมาเลี้ยวขวาอีกทีเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2117 ก็จะผ่าน อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันช่วงเวลา 06:00-18:00น.


อัตราค่าธรรมเนียมการเข้าชมโบราณสถาน ปราสาทพนมรุ้ง
  • ผู้เข้าชมชาวไทยคนละ 20 บาท, ชาวต่างชาติคนละ 100 บาท และหากจะเข้าชม ปราสาทเมืองต่ำ ด้วยสามารถซื้อบัตรเข้าชมทีเดียว 2 แห่งได้ในราคาชาวไทยคนละ 30 บาท (จากราคา 40 บาท), ชาวต่างชาติคนละ 150 บาท (จากราคา 200 บาท)
  • ผู้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมมีดังนี้ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในทุกศาสนา, นักเรียน นิสิต และนักศึกษาในเครื่องแบบ, สถาบันการศึกษาที่ขออนุญาตเข้าชมเป็นหมู่คณะ, ผู้ที่ได้รับเชิญหรือต้อนรับจากอธิบดีกรมศิลปากร และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ.2504
  • ยานพาหนะ รถยนต์ราคาคันละ 50 บาท, รถจักรยานยนต์ หรือ รถจักรยาน 3 ล้อราคาคันละ 20 บาท
รีวิว ท่องเที่ยว ปราสาทพนมรุ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (Phanom Rung Historical Park) จังหวัด บุรีรัมย์

...^_^... 

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)